เมนู

สาวัตถีนิทาน


ว่าด้วยประเภทของอินทรีย์ 5


[436] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้ อินทรีย์ 5
เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ 1 วิริยินทรีย์ 1 สตินทรีย์ 1 สมาธินทรีย์ 1 ปัญญิ-
นทรีย์ 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นในโส-
ดาปัตติยังคะ (ธรรมอันเป็นองค์แห่งการบรรลุกระแสนิพพาน) 4.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นใน
สัมมัปปธาน 4.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นในสติ-
ปัฏฐาน 4.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นใน
ฌาน 4.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นใน
อริยสัจ 4.
[437] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็น
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน 4
จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน
4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน
4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริย-
สัจ 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร.

ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ จะพึงเห็นอินทรีย์ 5
ด้วยอาการ 20 ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์
5 ด้วยอาการ 20 ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์
5 ด้วยอาการ 20 ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 จะพึงเห็นอินทรีย์
5 ด้วยอาการ 20.
[438] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึง
เห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ?
พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อในโสดา-
ปัตติยังคะ คือ การคบสัตบุรุษ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น
สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อ ในโสดาปัตติยังคะ คือ
การฟังธรรมของท่าน การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย การปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์
ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่ง
สตินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้.
[439] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 จะพึงเห็น
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน?
พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ ในสัมมัปป-
ธาน 4 คือ การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน

พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการ
ประคองไว้ ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
ในสัมมัปปธาน คือ การยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ในสัมมัปป-
ธาน คือ ความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์
ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นสตินทรีย์ด้วย
อรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาตินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์
ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่ง
วิริยินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5
ด้วยอาการ 20 เหล่านั้น.
[440] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน จะพึงเห็นอินทรีย์
5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ?
พึงเห็นสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน
คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตใน
จิต ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็น
สมาธินทรีย์ด้วยอรรถไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคอง ด้วย

สามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 จะพึงเห็น
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้.
[441] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5
ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ?
พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ใน
ปฐมฌาน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วย
อรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถ
ว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯสฯ ในตติยฌาน ฯลฯ ในจตุต-
ถฌาน พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า
น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วย
อรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยสมาธินทรีย์ ด้วยสามารถ
แห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้.
[442] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 จะพึงเห็นอินทรีย์
5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ?
พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็นอริยสัจ คือ
ทุกข์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า
ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่า
เป็นใหญ่ในความเห็นในอริยสัจ คือ ทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือ

ทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 จะพึงเห็น
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านั้น.
[443] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็น
ความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ฯลฯ ในสัมมัปปธาน 4 ฯลฯ
ในสติปัฏฐาน 4 ฯลฯ ในฌาน 4 ในอริยสัจ 4 จะพึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ?
ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็นความ
ประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 ในสัมมัปปธาน 4 ฯลฯ ใน
สติปัฏฐาน 4 ฯลฯ ในฌาน 4 ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 จะ
พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20.
[444] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็น
ความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ?
พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
น้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ การคบหาสัปบุรุษ พึงเห็นความประพฤติ
แห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วย
อรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่ง
สัทธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ใน
ความน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ การฟังธรรมของท่าน ฯลฯ ในโสดา-

ปัตติยังคะ คือ การทำไว้ในใจ โดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ
คือ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์
ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ด้วย
สามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้.
[445 ] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน. จะพึงเห็น
ความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ?
จะพึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
ประคองไว้ ในสัมมัปปธาน คือ การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่ง
วิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
ประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ใน
สัมมัปปธาน คือ การบำเพ็ญกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ใน
สัมมัปปธาน คือ ความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความ
ไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติ
แห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ด้วย
สามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์
5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้.

[446] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 จะพึงเห็นความ
ประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ?
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
ตั้งมั่นในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นความประพฤติ
แห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์
ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่ง
สตินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
ตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า
ประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน
4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้.
[447] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 จะพึงเห็นความ
ประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ?
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ในปฐมฌาน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า
เห็นพึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถที่น้อมใจเชื่อ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน

ฯลฯ ในตติยฌาน ฯลฯ ในจตุตถฌาน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ในฌาน 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ
20 เหล่านี้.
[448] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 8 จะพึงเห็นความ
ประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ?
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการ
เห็นในอริยสัจ คือ ทุกข์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า
น้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึง
เห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็น ในอริยสัจ คือ
ทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจ
เชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถ
แห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วย
อาการ 20 เหล่านี้.
[449] ความประพฤติและวิหารธรรม เป็นอันตรัสรู้แล้ว แทงตลอด
แล้ว เหมือนอย่างสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง กำหนดบุคคลไว้ในฐานที่ลึก ตามที่
ประพฤติตามที่อยู่ว่า ท่านผู้นี้บรรลุแล้ว หรือว่าจักบรรลุเป็นแน่.

จริยา ในคำว่า ความประพฤติ มี 8 คือ อิริยาปถจริยา 1
อายตนจริยา 1 สติจริยา 1 สมาธิจริยา 1 ญาณจริยา 1 มรรคจริยา 1
ปัตติจริยา 1 โลกัตถจริยา 1.
ความประพฤติในอิริยาบถ 4 ชื่อว่าอิริยาปถจริยา ความประพฤติใน
อายตนภายในภายนอก 6 ชื่อว่าอายตนจริยา ความประพฤติในสติปัฏฐาน 4
ชื่อว่าสติจริยา ความประพฤติในฌาน 4 ชื่อว่าสมาธิจริยา ความประพฤติใน
อริยสัจ ชื่อว่าญาณจริยา ความประพฤติในอริยมรรค 4 ชื่อว่ามรรคจริยา
ความประพฤติในสามัญผล 4 ชื่อว่าปัตติจริยา ความประพฤติกิจซึ่งเป็น
ประโยชน์แก่โลก ในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจก-
พุทธเจ้าบางส่วน ในพระสาวกบางส่วน ชื่อว่าโลกัตถจริยา อิริยาปถจริยา
เป็นของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้ อายตนจริยา เป็นของท่านผู้คุ้มครอง
อินทรีย์ สติจริยา เป็นของท่านผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท สมาธิจริยา
เป็นของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต ญาณจริยา เป็นของท่านผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา
มรรคจริยา เป็นของท่านผู้ปฏิบัติชอบ ปัตติจริยา เป็นของท่านผู้บรรลุผลแล้ว
และโลกัตถจริยาเป็นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ของพระปัจเจก
พุทธเจ้าบางส่วนของพระสาวกบางส่วน จริยา 8 เหล่านี้.
จริยา 8 อีกประการหนึ่ง คือ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ ย่อมประพฤติ
ด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้ ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งไว้มั่น
ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด
ย่อมประพฤติด้วย ปัญญา ผู้รู้แจ้ง ย่อมพระพฤติด้วยวิญญาณ ผู้ทราบว่า ท่าน
ปฏิบัติอย่างนี้จึงบรรลุคุณวิเศษ ดังนี้ ย่อมประพฤติด้วยวิเสสจริยา ผู้ที่ทราบ

ว่ากุศลธรรมของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมยังอิฐผลให้ยืดยาวไป ดังนี้ ย่อม
ประพฤติด้วยอายตนจริยา จริยา 8 เหล่านี้.
จริยา 8 อีกประการหนึ่ง คือ ทัสสนจริยาแห่งสัมมาทิฏฐิ 1 อภิโรปน-
จริยาแห่งสัมมาสังกับปะ 1 ปริคคหจริยาแห่งสัมมาวาจา 1 สมุฏฐานจริยา
แห่งสัมมากัมมันตะ 1 โวทานจริยาแห่งสัมมาอาชีวะ. ปัคคหจริยาแห่ง
สัมมาวายามะ 1 อุปัฏฐานจริยาแห่งสัมมาสติ 1 อวิกเขปจริยาแห่งสัมมาสมาธิ 1
จริยา 8 เหล่านี้.
[450] คำว่า วิหาโร ความว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ ย่อมอยู่ด้วย
ศรัทธา ผู้ประคองไว้ ย่อมอยู่ด้วยความเพียร ผู้ตั้งสติมั่น ย่อมอยู่ด้วยสติ
ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด ย่อมอยู่ด้วยปัญญา.
คำว่า รู้ตาม ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ความ
ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ ความตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ ความไม่ฟุ้งซ่านแห่ง
สมาธินทรีย์ ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ เป็นอันรู้ตามแล้ว.
คำว่า แทงตลอดแล้ว ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์...
ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ เป็นอันแทงตลอดแล้ว.
คำว่า ตามที่ประพฤติ ความว่า ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ ด้วย
ความเพียรอย่างนี้ ด้วยสติอย่างนี้ ด้วยสมาธิอย่างนี้ ด้วยปัญญาอย่างนี้.
คำว่า ตามที่อยู่ ความว่า อยู่ด้วยศรัทธาอย่างนี้ ...ด้วยปัญญาอย่างนี้.
คำว่า วิญญู คือ ผู้รู้แจ้ง ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาทำลายกิเลส
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้.
คำว่า สพฺรหฺมจารี คือ บุคคลผู้มีการงานอย่างเดียวกัน มีอุเทศ
อย่างเดียวกัน มีการศึกษาเสมอกัน.

ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล อภิญญา และปฏิสัมภิทา
ท่านกล่าวว่า เป็นฐานะอันลึก ในคำว่า คมฺภีเรสฺ ฐาเนสุ.
คำว่า โอกปฺเปยยุํ ความว่า พึงเชื่อ คือ พึงน้อมใจเชื่อ.
คำว่า อทฺธา นี้ เป็นเครื่องกล่าวส่วนเดียว เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่
สงสัย เป็นเครื่องกล่าวโดยสิ้นความเคลือบแคลง เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสอง
เป็นเครื่องกล่าวโดยธรรมเครื่องนำออก เป็นเครื่องกล่าวไม่ผิด เป็นเครื่อง
กล่าวโดยหลักฐาน.
คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
ด้วยความเคารพ เป็นเครื่องกล่าวมีความเคารพยำเกรง.
คำว่า บรรลุแล้ว ความว่า ถึงทับแล้ว คําว่า หรือว่าจักบรรลุ
ความว่า จักถึงทับ.
จบนิทานบริบูรณ์

[451] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้ 5 เป็นไฉน คือ
สัทธินทรีย์...ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้แล.
อินทรีย์ 5 เหล่านี้พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร พึงเห็นด้วยอาการ 6
พึงเห็นด้วยอรรถว่ากระไร ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระ
ในเบื้องต้น ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่ง ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยอรรถว่า
ครอบงำ ด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่.
[452] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่อย่างไร ?
พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อแห่ง
บุคคลและความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้

พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น
วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ แห่งบุคคลผู้ละความ
เกียจคร้าน พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น. พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วย
อรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น แห่งบุคคลผู้ละความประมาท พึงเห็นสมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น.
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย
อรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า
เป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านแห่งบุคคลผู้ละอุทธัจจะ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วย
อรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย
อรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธิ
นทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็น แห่งบุคคลผู้ละ
อวิชชา พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็น
ใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น
ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
ประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็น

สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วย
สามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นสมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วย
สามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่
ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น.
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย
อรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็น ด้วย
สามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อม
ใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาท แห่งบุคคลผู้ละพยาบาท ฯลฯ ด้วย
สามารถแห่งอาโลกสัญญา แห่งบุคคลผู้ละถีนมิทธะ ฯลฯ พึงเห็นสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค แห่ง
บุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ฯลฯ พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็น ด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค

แห่งบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึง
เห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึง
เห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่อย่างนี้.
[453] พึงเห็นอินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น
อย่างไร.
สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวัง
ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น แห่งสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
ด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังความเกียจคร้าน เป็น
เครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งวิริยินทรีย์ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็น
สีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังความประมาท เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่ง
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่า
ระวังอุทธัจจะ เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งสมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ด้วย
อรรถว่าเห็น เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังอวิชชา เป็นเครื่องชำระใน
เบื้องต้นแห่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5 ในเนกขัมมะ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถ
ว่าระวังกามฉันทะ เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ 5 อินทรีย์ 5
ในความไม่พยาบาท เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังพยาบาท เป็นเครื่อง
ชำระในเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ 5 ฯลฯ อินทรีย์ 5 ในอรหัตมรรค เป็นสีล-
วิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งอินทรีย์
5 พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นอย่างนี้.
[454] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่งอย่างไร.

ฉันทะเกิดขึ้นเพื่อความเจริญสัทธินทรีย์ เพื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับ
ทิฏฐิ เพื่อละกิเลสส่วนหยาบ ๆ เพื่อละกิเลสส่วนละเอียด ๆ เพื่อละกิเลสทั้งปวง.
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจฉันทะ
ความปราโมทย์เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งฉันทะ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย
สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ปีติเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง
ความปราโมทย์ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจ
แห่งปีติ ปัสสัทธิเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งปีติ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย
สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ความสุขเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง
ปัสสัทธิ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจแห่ง
ความสุข โอภาสเกิดขึ้นด้วยสามารถความสุข สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย
สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจโอภาส สังเวชเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งโอภาส
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจสังเวช จิตสังเวช
แล้วย่อมตั้งมั่น สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจ
สมาธิ จิตมั่นคงอย่างนั้นแล้วย่อมประคองไว้ดี สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย
สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจการประคองไว้ จิตประคองแล้วอย่างนั้นย่อม
วางเฉยดี สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธาด้วยอำนาจอุเบกขา
จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขา สัทธินทรีย์มีประมาณ
ยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความหลุดพ้น ธรรมเหล่านั้นมีกิจ
เสมอกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณ
ยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจภาวนา เพราะอรรถว่าเป็นธรรมมีกิจ
เสมอกัน ธรรมเหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นสู่ธรรมที่ประณีตกว่า เพราะ

เป็นธรรมที่เจริญแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วย
อำนาจความหลีกไป จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้น เพราะเป็นธรรมที่หลีกไปแล้ว
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปล่อย ธรรม
ทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยไปแล้ว สัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความดับ ความปล่อยด้วย
สามารถแห่งความดับ มี 2 ประการ คือ ความปล่อยด้วยความสละ 1 ความปล่อย
ด้วยความแล่นไป 1 ชื่อว่าความปล่อยด้วยความสละ เพราะอรรถว่า สละกิเลส
และขันธ์ ชื่อว่าความปล่อยด้วยความแล่นไป เพราะอรรถว่า จิตแล่นไปใน
นิพพานธาตุเป็นที่ดับ ความปล่อยด้วยอำนาจความดับมี 2 ประการนี้.
[455] ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญวิริยินทรีย์ เพื่อละความ
เกียจคร้าน เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่
ร่วมกันกับทิฏฐิ ฯลฯ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯลฯ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญ
สตินทรีย์ เพื่อละความประมาท เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความประมาท ฯลฯ
เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯลฯ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญสมาธินทรีย์ เพื่อละ
อุทธัจจะ เพื่อละความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ฯลฯ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯลฯ
ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญปัญญินทรีย์ เพื่อละอวิชชา เพื่อละความเร่าร้อน
เพราะอวิชชา เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ เพื่อละกิเลสส่วนหยาบ ๆ
เพื่อละกิเลสส่วนละเอียด ๆ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย
สามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจฉันทะ ความปราโมทย์ย่อมเกิดด้วยสามารถ
ฉันทะ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ ปีติย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งความปราโมทย์ ปัญญินทรีย์มีประมาณ
ยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งปีติ

ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ความสุข
ย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งปัสสัทธิ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่ง
ปัญญา ด้วยอำนาจความสุข โอภาสย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งความสุข ปัญญิน-
ทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชย่อม
เกิดด้วยสามารถแห่งโอภาส ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา
ด้วยอำนาจความสังเวช จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
ด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจสมาธิจิตตั้งมั่น แล้วอย่างนั้น ย่อมประคอง
ไว้ดี ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความประคอง
ไว้ จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้น ย่อมวางเฉยด้วยดี
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจอุเบกขา
จิตย่อมหลุดพ้น จากกิเลสต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขา ปัญญินทรีย์มีประ-
มาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความหลุดพ้น ธรรมเหล่านั้นย่อมมี
กิจเป็นอันเดียวกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว ปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจภาวนา เพราะอรรถว่าเป็นธรรม
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมเหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรมที่ประณีต
กว่า เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา
ด้วยอำนาจความหลีกไป จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้น เพราะเป็นจิตหลีกไปแล้ว
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความปล่อย ธรรม
ทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยแล้ว ปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความดับ ความปล่อยด้วยอำนาจ
แห่งความดับมี 2 ประการ คือ ความปล่อยด้วยความสละ1 ความปล่อยด้วยความ
แล่นไป 1 ชื่อว่าความปล่อยด้วยความสละ เพราะอรรถว่า สละกิเลสและขันธ์

ชื่อว่าความปล่อยด้วยความแล่นไป เพราะอรรถว่า จิตแล่นไปในนิพพานธาตุ
อันเป็นที่ดับ ความปล่อยด้วยสามารถแห่งความดับ มี 2 ประการนี้ พึงเห็น
อินทรีย์ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่งอย่างนี้.
จบภาณวาร

[456] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นอย่างไร.
ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญสัทธินทรีย์ สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่นด้วย
สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจฉันทะ ความปราโมทย์ย่อมเกิดด้วยสามารถ
แห่งฉันทะ สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่นด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ ฯลฯ จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นอย่างนี้.
[457] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าครอบงำอย่างไร.
สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ย่อมครอบงำความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา วิริยินทรีย์
ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมครอบงำความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมครอบงำ
ความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมครอบงำ
ความประมาท ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะความประมาท สมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมครอบงำอุทธัจจะ ย่อมครอบงำความเร่าร้อน
เพราะอุทธัจจะ ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมครอบงำอวิชชา ย่อม
ครอบงำความเร่าร้อนเพราะอวิชชา อินทรีย์ 5 ในเนกขัมมะ ย่อมครอบงำ
กามฉันทะ อินทรีย์ 5 ในความไม่พยาบาท ย่อมครอบงำพยาบาท อินทรีย์ 5
ในอาโลกสัญญา ย่อมครอบงำถีนมิทธะ อินทรีย์ 5 ในความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมครอบงำอุทธัจจะ ฯลฯ อินทรีย์ 5 ในอรหัตมรรค ย่อมครอบงำกิเลส
ทั้งปวง จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าครอบงำอย่างนี้.

[458] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่อย่างไร.
ผู้มีศรัทธา ย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์
ของผู้มีศรัทธา ย่อมให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ ผู้มีความเพียรย่อมให้
วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในความประคองไว้ วิริยินทรีย์ของผู้มีความเพียร ย่อมให้ตั้งอยู่
ในความประคองไว้ ผู้มีสติย่อมให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น สตินทรีย์
ของผู้มีสติ ย่อมให้ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่
ในความไม่ฟุ้งซ่าน สมาธินทรีย์ของผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้ง-
ซ่าน ผู้มีปัญญาย่อมให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในความเห็น ปัญญินทรีย์ของผู้มี
ปัญญา ย่อมให้ตั้งอยู่ในความเห็น พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ใน
เนกขัมมะ อินทรีย์ 5 ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ พระ
โยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ในความไม่พยาบาท อินทรีย์ 5 ของพระ-
โยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่พยาบาท พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ 5
ตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา อินทรีย์ 5 ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในอาโลก-
สัญญา พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์ 5
ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พระโยคาวจรย่อม
ให้อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค อินทรีย์ 5 ของพระโยคาวจร ย่อมให้
ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่อย่างนี้.
[459] ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
เท่าไร พระเสขะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
เท่าไร.

ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 7
พระเสขะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 8 ท่านผู้ปราศ-
จากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 10.
[460] ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
7 เป็นไฉน ?
ปุถุชนผู้มีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์
1 เป็นผู้ฉลาดให้ความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ปัคคหนิมิต 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน 1 เป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง 1 เป็นผู้
ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา 1 ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ด้วยอาการ 7 เหล่านี้.
พระเสขะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 8
เป็นไฉน ?
พระเสขะมีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
อารมณ์ ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้
ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว พระเสขะผู้เจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ด้วยอาการ 8 เหล่านี้.
ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย
อาการ 10 เป็นไฉน ?
ท่านผู้ปราศจากราคะมีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต ท่านผู้
ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 10 เหล่านี้.
[461] ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย
อาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร พระเสขะเจริญ-
วิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความ
ไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดใน
ความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร.
ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 9
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 9 พระเสขะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ด้วยอาการ 10 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 10 ท่านผู้
ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 12 เป็นผู้
ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 12.
[462] ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย
อาการ 9 เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 9 เป็นไฉน ?
ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง 1 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง 1 เป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ 1 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็น
สุข 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา 1 เป็นผู้ฉลาดในความ
ไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป 1
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
ความเสื่อมไป 1 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา 1 เป็นผู้

ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน 1 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดย
ความยั่งยืน 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ 1 เป็นผู้
ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
เป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง 1 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง 1
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ 1 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดย
ความยึดมั่น 1 ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
9 เหล่านั้น เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 9 เหล่านี้.
พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 10
เป็นไฉน ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 10 เป็นไฉน ?
พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นสภาพสูญ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความยึดมั่น เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความไม่
ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้
ด้วยอาการ 10 เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 10 เหล่านี้.
ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย
อาการ 12 เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 12 เป็นไฉน ?
ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง
ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่ง
มิใช่ญาณ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ฉลาดในความ
ไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ เป็นผู้ฉลาด

ในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้
ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 12 เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วย
12 เหล่านี้ บุคคลผู้มีตนอันเว้นแล้ว ย่อมให้อินทรีย์ประชุม ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ รู้จักโคจร และแทงตลอดธรรม
อันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯลฯ ย่อมให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้จักโคจร
และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์
[463] คำว่า ย่อมให้อินทรีย์ประชุมลง ความว่า ย่อมให้
อินทรีย์ประชุมลงอย่างไร ย่อมให้สัทธินทรีย์ประชุมลงด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต
ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดใน
ความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความ
เป็นธรรมอย่างเดียว ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ด้วย
สามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต ความสามารถความเป็นผู้ฉลาดใน
ความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความ
ไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้
โดยความเป็นทุกข์ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความ
เป็นสุข ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ด้วย
สามรถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาด

ในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้ง
ไว้โดยความเสื่อมไป ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความ
ประมวลมา ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ โดยความแปรปรวน
ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยความยั่งยืน ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ โดยความเป็นสภาพที่หานิมิตมิได้ ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยเป็นสภาพมีนิมิต ด้วยสามารถความเป็น
ผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดใน
ความไม่ตั้งไว้โดยสภาพมีที่ตั้ง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
ความเป็นสภาพสูญ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึด
มั่น ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ด้วยสามารถความเป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ซึ่งความไม่เกี่ยวข้อง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่ง
ความไม่เกี่ยวข้อง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความดับ
ย่อมรู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
[464] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ 3 ด้วยอาการ
64 เป็นอาสวักขยญาณ อินทรีย์ 3 เป็นไฉน คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
1 อัญญินทรีย์ 1 อัญญาตาวินทรีย์ 1.
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึง
ฐานะเท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร.
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะ 1 คือ โสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะ 6 คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล

อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค อัญญตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะ 1
คือ อรหัตผล.
[465] ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีความประคองไว้เป็น
บริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น
บริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร
โสมนัสสินทรีย์มีความยินดียิ่งเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในการ
สืบต่อแห่งความเป็นไปเป็นบริวารธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค
เว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นกุศลทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็น
ธรรมที่นำออก ล้วนเป็นเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วน
เป็นธรรมมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามี-
ตินทรีย์มีอินทรีย์ทั้ง 8 นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นเป็นบริวาร
มีธรรมที่อาศัยเป็นบริวาร มีสัมปยุตธรรมเป็นบริวาร เป็นสหคตธรรม เป็น
สหชาตธรรม เป็นธรรมเกี่ยวข้องกัน เป็นธรรมประกอบกัน ธรรมเหล่านั้น
แลเป็นอาการและเป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในขณะโสดา-
ปัตติผล ฯลฯ.
ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ
เชื่อเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในความสืบเนื่องแห่งความ
เป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตผล เว้นรูปอันมีจิต
เป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นอพัพยากฤตทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นโลกุตระ
ล้วนมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์
8 นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและ

เป็นบริวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ 8 หมวดนี้รวมเป็นอินทรีย์ 64
ด้วยประการฉะนี้.
[466] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะ
เหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.
อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ
ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปเพราะโสดาปัตติ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะโสดาปัตติมรรคนี้ กามาสวะส่วนหยาบ
ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะ
สกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไปในขณะสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะ
ทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไป
เพราะอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ
และอวิชชาทั้งสิ้น ย่อมสิ้นไปเพราะอรหัตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปใน
ขณะอรหัตมรรคนี้.
บทธรรมที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีโนโลกนี้ อนึ่ง บทธรรม
อะไร ๆ ที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงทราบแล้ว ไม่พึงทรงทราบมิได้มี พระตถาคต
ทรงทราบธรรมที่ควรนำไปทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่าเป็น
พระสมันตจักษุ.
คำว่า สมนฺตจกฺขุ ความว่า ชื่อว่าสมันตจักษุ เพราะอรรถว่า
กระไร.
พระพุทธญาณ 14 คือ ญาณในทุกข์ ญาณในทุกขสมุทัย ฯลฯ
สัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ เป็นพระพุทธญาณ พระพุทธญาณ 14 นี้

ในพระพุทธญาณ 14 นี้ ญาณ 8 ข้างต้นทั่วไปกับพระสาวก ญาณ 6 ข้าง
หลังไม่ทั่วไปกับพระสาวก.
[467] พระตถาคตทรงทราบ สภาพแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่ทนได้ยาก
ตลอดหมด ที่ไม่ทรงทราบมิได้มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า
สมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ สภาพแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่
ทนได้ยาก พระตถาคตทรงเห็นแล้ว ทรงทราบแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรง
ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยพระปัญญา ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้วมิได้มี เพราะเหตุนั้น
พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ฯลฯ สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯลฯ สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุให้เกิด ฯลฯ
สภาพแห่งนิโรธเป็นเหตุดับโดยไม่เหลือ ฯลฯ สภาพแห่งมรรคเป็นทางให้ถึง
ฯลฯ สภาพแห่งอรรถปฏิสัมภิทาเป็นปัญญาเครื่องแตกฉานดีโดยอรรถ ฯลฯ
สภาพแห่งธรรมปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยธรรม ฯลฯ สภาพแห่ง
นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยภาษา สภาพแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา
เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยปฏิภาณ ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์
ทั้งหลาย ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอันนอนตามของสัตว์ทั้งหลาย
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ฯลฯ อารมณ์ที่ได้เห็น
ที่ได้สดับ ที่ได้ทราบ ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่เที่ยวตามหาด้วยใจ
โนโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแจ้งแล้ว

ทรงรู้แล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาที่ไม่ทรงถูกต้องด้วย
ปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่าสมันตจักษุ สมันตจักษุ
เป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ...สมาธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลเมื่อเชื่อย่อมประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อม
ตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมเชื่อ เมื่อประคอง
ไว้ย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อ
ตั้งใจมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมประคองไว้ เมื่อตั้งสติมั่นย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้ง
ใจมั่นย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติ
มั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ย่อมประคองไว้ เมื่อประคอง
ไว้ย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น
ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้
ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมตั่งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมตั้งใจมั่น เมื่อรู้ชัด
ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมรู้ชัด
เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้ง
ใจมั่นย่อมรู้ชัด เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคอง
ไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น จึงเชื่อ
เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะ
ความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้ประ
คองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็น
ผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้ เพราะความ

เป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัด จึงประคองไว้ เพราะความเป็น
ผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ตั้ง
สติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้ง
สติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น
จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประ-
คองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น
จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ
เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น
เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะ
ความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะความเป็น
ผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้ง
สติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น
จึงรู้ชัด พระพุทธจักษุเป็นพระพุทธญาณ พระพุทธญาณเป็นพระจักษุ อัน
เป็นเครื่องให้ พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อย ในปัญญาจักษุก็มี
มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มี
อาการดีก็มี มีอาการชั่วก็มี ที่จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่ายก็มี ที่จะพึงฝึกให้รู้ได้โดย
ยากก็มี บางพวกเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกไม่เห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย.
[468] คำว่า มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมาก
ในปัญญาจักษุ
ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ผู้ปรารภความเพียร...ผู้มี

สติตั้งมั่น...ผู้มีจิตตั้งมั่น...ผู้มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
บุคคลผู้เกียจคร้าน...ผู้มีสติหลงลืม...ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ... ผู้มีปัญญาทราม
ชื่อว่าผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ.
คำว่า ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ความว่า บุคคลผู้มี
ศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯลฯ
ผู้มีปัญญา ชื่อว่ามีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน.
คำว่า ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการชั่ว ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา
ชื่อว่าผู้มีอาการดี ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่า
ผู้มีอาการดี ผู้ไม่มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว.
คำว่า จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย จะพึงให้ฝึกให้รู้ได้โดยยาก
ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า
จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย ผู้ไม่มี
ปัญญา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก.
คำว่า บางพวกเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บาง
พวกไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา
ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าไม่เห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษโดยความ
เป็นภัย ผู้ไม่มีปัญญา ชื่อว่าไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.
คำว่า โลก คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก
วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก 1 คือ สัตว์ทั้งปวง

ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร โลก 2 คือ นามและรูป โลก 3 คือ เวทนา 3
โลก 4 คือ อาการ 4 โลก 5 คือ อุปาทานขันธ์ 5 โลก 6 คือ อายตนะ
ภายใน 6 โลก 7 คือ วิญญาณฐิติ 7 โลก 8 คือ โลกธรรม 8 โลก 9
คือ สัตตาวาส 9 โลก 10 คือ อายตนะ 10 โลก 12 คือ อายตนะ 12
โลก 18 คือ ธาตุ 18.
คำว่า โทษ ความว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ
อภิสังขารทั้งปวงเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ ความ
สำคัญในโลกนี้และในโทษนี้ด้วยประการดังนี้ โดยความเป็นภัยอย่างแรงกล้า
ปรากฏเฉพาะหน้า เปรียบเหมือนความสำคัญในเพชฌฆาต ซึ่งกำลังแกว่งดาบ
เข้ามาโดยความเป็นภัย ฉะนั้น พระตถาคตย่อมทรงทราบ ทรงเห็น ทรง
รู้ชัดแทงตลอด ซึ่งอินทรีย์ 5 ประการ ด้วยอาการ 50 เหล่านี้.
จบตติยภาณวาร
จบอินทริยกถา

4. อินทริยกถา


1. อรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ


บัดนี้ ถึงคราวที่จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาในอินทริย-
กถา ซึ่งกล่าวในลำดับอานาปานสติกถา.
จริงอยู่ อินทริยกถานี้ท่านกล่าวในลำดับอานาปานสติกถา เพื่อแสดง
วิธีมีการชำระอินทรีย์ อันเป็นอุปการะแก่อานาปานสตินั้น เพราะไม่มี
อานาปานสติภาวนา ในเพราะความไม่มีอินทรีย์ทั้งหลายอันเป็นอุปการะแก่
อานาปานสติภาวนา เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระประสงค์จะทำอินทริยกถา
ที่ควรกล่าวนั้น อันเป็นเทศนาที่มีมาในพระสูตร โดยประสงค์จะให้รู้ซึ่งตน
ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นเบื้องต้นจึงกล่าวคำ
เป็นอาทิว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ เป็นบทนิบาต. บททั้งหลายมีอาทิว่า เม
เป็นบทนาม. บทว่า วิ ในบทว่า วิหรติ นี้ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ
เป็นบทอาขยาย. พึงทราบการจำแนกบทโดยนัยนี้ด้วยประการฉะนี้.
แต่โดยอรรถ เอวํ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถแห่งนิทัศนะการชี้แจง
และในอรรถแห่งอวธารณะ (การรับรอง) ในการถือเอาคําอันเป็นอุปมาการอ้าง
การติเตียน การสรรเสริญและอาการ. แต่ เอวํ ศัพท์ในที่นี้วิญญูชนบัญญัติ
ลงในอรรถแห่งอาการและในอรรถแห่งนิทัศนะ และในอรรถแห่งอวธารณะ
ก็เหมือนอย่างนั้น.